น้ำท่วมลิเบียตายทะลุหมื่น ภัยธรรมชาติหรือความผิดพลาดของมนุษย์-

เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ประเทศลิเบียซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคแอฟริกาเหนือ เผชิญกับพายุไซโคลนแดเนียล ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นไซโคลนที่รุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี นับตั้งแต่ไซโคลนนาร์กิสเมื่อปี 2008

ล่าสุด สภาเสี้ยววงเดือนแดงลิเบีย ซึ่งเป็นหน่วยงานกาชาด รายงานยืนยันว่า ขณะนี้ มีผู้เสียชีวิตแล้วมากกว่า 11,300 ราย โดยกระบวนการเก็บศพที่ถูกพัดเกยตื้นบนชายฝั่งของเมืองเดอร์นายังคงดำเนินต่อไป ในขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

คาดยอดผู้เสียชีวิตภัยพิบัติน้ำท่วมลิเบีย อาจสูงถึง 20,000 คน

"ลิเบีย" พบผู้เสียชีวิตภัยพิบัติน้ำท่วม 5,200 ราย สูญหาย 10,000 คน

ลิเบียน้ำท่วมหนัก หวั่นผู้เสียชีวิตพุ่งหลายพันคน

ความสูญเสียที่เกิดขึ้นนี้ เนื่องจากความรุนแรงของพายุแดเนียลได้ทำให้เขื่อน 2 แห่งพังทลาย เกิดกระแสน้ำเชี่ยวไหลทะลักท่วมเมืองอย่างรวดเร็ว ชาวเมืองบางคนให้การว่า น้ำที่ไหลเข้าสู่เดอร์นาดูเหมือนสึนามิขนาดมหึมา

ขณะที่คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) ระบุว่า คลื่นที่ซัดเข้าเมืองมีความสูงถึง 7 เมตร สามารถซัดอาคารบ้านเรือนและโครงสร้างพื้นฐานให้พังทลายได้

อับดุลเมนัม อัล-ไกธี นายกเทศมนตรีเมืองเดอร์นากล่าวว่า ยอดผู้เสียชีวิตอาจสูงกว่านี้อีก โดยอาจมากถึง 20,000 ราย และยังมีผู้สูญหายอย่างน้อย 10,000 ราย ความสูญเสียดังกล่าวทำให้นี่นับเป็น 1 ใน 20 เหตุอุทกภัยที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์

ทั้งนี้ เหตุการณ์นี้ได้ทำให้เกิดคำถามตามมาว่า ทำไมความเสียหายที่เกิดขึ้นกับลิเบียจึงมากกว่าประเทศอื่น ไม่ว่าจะเป็น กรีซ ตุรกี บัลแกเรีย และอียิปต์ ที่ต่างก็ถูกพายุไซโคลนแดเนียลถล่มเหมือนกัน

ก่อนจะมาถึงลิเบีย พายุแดเนียลได้ถล่มกรีซ ตุรกี และบัลแกเรีย มาก่อนแล้ว ทำให้เกิดน้ำท่วมรุนแรง มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 20 ราย จากนั้นแดเนียลได้ก่อตัวเป็นพายุหายากประเภทที่เรียกว่า “เมดิเคน” (Medicane) หรือพายุเหนือทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่มีลักษณะคล้ายกับพายุเฮอริเคนและไต้ฝุ่น

เมดิเคนแดเนียลมีกำลังแรงขึ้นขณะเคลื่อนผ่านน่านน้ำที่อุ่นผิดปกติของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ก่อนที่จะทำให้ฝนตกหนักใส่ลิเบียเมื่อวันอาทิตย์ (10 ก.ย.) โดยมีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 414 มม. ใน 24 ชั่วโมงที่อัล-เบย์ดา เมืองทางตะวันตกของเดอร์นา ซึ่งถือเป็นสถิติใหม่

แม้ว่าจะยังเร็วเกินไปที่จะสรุปได้ว่าพายุเกิดจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ แต่นักวิทยาศาสตร์มั่นใจว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังเพิ่มความรุนแรงของเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว เช่น พายุ มหาสมุทรที่อุ่นขึ้นเป็นเชื้อเพลิงสำหรับพายุ และบรรยากาศที่อุ่นขึ้นสามารถกักเก็บความชื้นได้มากขึ้น ซึ่งหมายความว่ามีฝนตกหนักมากขึ้น

ฮันนาห์ โคลก ศาสตราจารย์ด้านอุทกวิทยาจากมหาวิทยาลัยเรดดิงในสหราชอาณาจักร กล่าวว่า “พายุกำลังรุนแรงมากขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ”

นั่นทำให้หลายคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักการเมืองบางคนของลิเบีย กำลังพยายามอ้างว่า ความย่อยยับที่เกิดขึ้น เป็นผลจากภัยพิบัติทางธรรมชาติล้วน ๆ แต่ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่านั่นเป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น

พวกเขาบอกว่า ความหายนะของลิเบียยังเกิดจากอายุโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงเขื่อน ที่เก่ากรุและขาดการบำรุงรักษา การประกาศเตือนที่ไม่เพียงพอและไม่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการต่อสู้ทางการเมืองของลิเบียที่มี 2 รัฐบาล ทำให้ขาดความพร้อมในการทำงานเพื่อเตรียมรับมือพายุ

สถานการณ์การเมืองของลิเบีย ถือว่าขาดเสถียรภาพมานานหลายสิบปี เมื่อปี 2014 ก่อนไอซิสเคยฉวยโอกาสยึดเมืองเดอร์นาไว้ ก่อนจะถูกขับออกไปในปีถัดมา

3 ปีต่อมา นายพลคาลิฟา ฮาฟตาร์ ผู้ทรยศ ได้เข้าควบคุมเดอร์นา ซึ่งเป็นดินแดนสุดท้ายในภาคตะวันออกที่ปฏิเสธการปกครองของเขา หลังจากถูกปิดล้อมเป็นเวลา 2 ปี เมืองนี้ก็ถูกทำลายลงด้วยระเบิดและการสู้รบภาคพื้นดินอันดุเดือด

วงจรของความรุนแรงตลอดหลายปีที่ผ่านมาได้ทิ้งรอยแผลเป็นไว้ในเมืองเดอร์นา แห่งนี้ โดยที่ทางการก็ไม่ได้ลงทุนในโครงการฟื้นฟูสำคัญใด ๆ เพราะรัฐบาลปัจจุบันเองก็มี 2 รัฐบาลที่เป็นปฏิปักษ์กัน

ฮานี เชนนิบ ประธานสภาแห่งชาติว่าด้วยความสัมพันธ์ลิเบียของสหรัฐฯ กล่าวว่า“โรงพยาบาลแห่งเดียวที่เปิดดำเนินการในเดอร์นาในปัจจุบันคือวิลล่าเช่าซึ่งมี 5 ห้องนอน”

เขาเสริมว่า “นี่ไม่ใช่เรื่องใหม่ สิ่งนี้เกิดขึ้นเป็นเวลา 42 ปีแล้ว มันทำให้เกิดความแปลกแยกและความวุ่นวายทางการเมืองนับตั้งแต่สมัยของกัดดาฟี รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขและนายกรัฐมนตรีทุกคนจะมาเยี่ยมเดอร์นา แถลงเกี่ยวกับการสนับสนุนเมือง แล้วก็ละทิ้งมันไปโดยสิ้นเชิง”

เชนนิบกล่าวว่า หายนะครั้งล่าสุดที่เกิดขึ้นนี้ถือเป็นฟางเส้นสุดท้าย “การผุพังของเขื่อนในเมืองเดอร์นาไม่ใช่เรื่องใหม่ มีการรายงานสิ่งเหล่านี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่ก็ไม่มีเจ้าหน้าที่คนใดสนใจเรื่องนี้”

ด้าน คลอเดีย กัซซินี นักวิเคราะห์อาวุโสของ International Crisis Group ประจำลิเบีย กล่าวว่า “สภาวะความวุ่นวายภายในประเทศหมายถึงการทะเลาะกันเรื่องการจัดสรรงบประมาณ” โดยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ลิเบียไม่มีงบประมาณในการพัฒนาหรือบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน และไม่มีการจัดสรรสำหรับโครงการระยะยาว

“และไม่มีรัฐบาลใดในทั้งสองรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมายเพียงพอที่จะจัดทำแผนระดับชาติ ซึ่งจะควบคุมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานได้” เธอกล่าวเสริม

ขณะที่รองนายกเทศมนตรีเมืองเดอร์นา อาห์เหม็ด มาดรูด กล่าวว่า เขื่อนไม่ได้รับการบำรุงรักษาอย่างเหมาะสมเลยตั้งแต่ปี 2002 นั่นหมายความว่า รัฐบาลลิเบียล้มเหลวในการบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญมาโดยตลอด

ผลจากการขาดการบำรุงรักษา ทำให้เดอร์นาเป็นเมืองที่มีแนวโน้มจะเกิดน้ำท่วมได้ง่ายจากการที่เขื่อนรั่วหรือแตก โดยอ่างเก็บน้ำในเขื่อนเคยก่อให้เกิดน้ำท่วมร้ายแรงอย่างน้อย 5 ครั้งกับเมืองแห่งนี้นับตั้งแต่ปี 1942 ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในปี 2011

เขื่อน 2 แห่งที่พังเมื่อวันจันทร์ (11 ก.ย.) ถูกสร้างขึ้นเมื่อประมาณ 50 ปีก่อน ระหว่างปี 1973 ถึง 1977 โดยบริษัทก่อสร้างแห่งหนึ่งในยูโกสลาเวีย เขื่อนเดอร์นามีความสูง 75 เมตร และจุน้ำได้ 18 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนเขื่อนแห่งที่สอง มันซูร์ มีความสูง 45 เมตร มีความจุ 1.5 ล้านลูกบาศก์เมตร

เมื่อปีที่แล้ว บทความจากนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโอมาร์ อัล-มุคตาร์ เตือนว่า เขื่อนทั้งสองแห่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วน โดยชี้ให้เห็นว่ามี “ความเสี่ยงสูงที่จะเกิดน้ำท่วม” แต่ก็ยังไม่มีการดำเนินการใด ๆ

อัล-ไกธี นายกเทศมนตรีเมืองเดอร์นา บอกว่า อีกหนึ่งปัญหาเรื้อรังของลิเบีย คือการทุจริตคอร์รัปชันที่มีมานานหลายปี และคอร์รัปชันรุนแรงถึงขนาดมีการรื้อโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ

“การละเลยโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของลิเบียและการบำรุงรักษาเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เขื่อนแตก และเมืองจมอยู่ใต้น้ำ” เขากล่าว

อัล-ไกธีเสริมว่า “การทุจริตและการจัดการทางการเงินที่ผิดพลาดเป็นสาเหตุเบื้องหลังความล้มเหลวของโครงสร้างพื้นฐานที่สร้างปัญหาให้กับลิเบียมานานหลายทศวรรษ และหน่วยงานด้านการลงทุนทางทหารเองก็เป็นผู้ทำลายโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะของลิเบียทางตะวันออก โดยทำลายมันเพื่อลักลอบขนและขายเศษโลหะ”

ปัญหาทางการเมืองของลิเบียยังทำให้การยกระดับระบบเฝ้าระวังและเตือนภัยสภาพอากาศไม่ได้รับการพัฒนา ซึ่ง เพตเตรี ทาลาส หัวหน้าองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) กล่าวว่า ระบบการเตือนภัยที่ดีขึ้นอาจช่วยหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บล้มตายส่วนใหญ่ในเดอร์นา ได้

 น้ำท่วมลิเบียตายทะลุหมื่น ภัยธรรมชาติหรือความผิดพลาดของมนุษย์-

“หากมีหน่วยบริการอุตุนิยมวิทยาที่ปฏิบัติการตามปกติ พวกเขาคงจะออกคำเตือนแล้ว และการจัดการเหตุฉุกเฉินในส่วนนี้ก็สามารถดำเนินการอพยพประชาชนได้ทันท่วงที และเราจะหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บล้มตายของผู้คนส่วนใหญ่ได้” ทาลาสกล่าว

เขาเสริมว่า ความไม่มั่นคงทางการเมืองในประเทศลิเบียได้ขัดขวางความพยายามของ WMO ในการทำงานร่วมกับรัฐบาลลิเบียเพื่อปรับปรุงระบบเหล่านี้

เรียบเรียงจาก Al Jazeera / CNN

ภาพจาก

AFP PHOTO / HO / LIBYAN RED CRESCENT

AFP PHOTO / – / SATELLITE IMAGE 2023 MAXAR TECHNOLOGIES

อายัด 'สลากกินแบ่งรัฐบาล' งวด 16ก.ย. 66 จำนวน 90 เล่ม 9,000 ใบ

ย้อนดู “เงินเดือนข้าราชการ” หลัง ครม.สั่งการแบ่งจ่าย 2 รอบ/เดือน

วันขอเงินพระจันทร์ “อมาวสี” คืออะไร พร้อมแจกฤกษ์มงคลตลอดปี 2566

You May Also Like

More From Author